วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับ PLC


ข้อมูลรายละเอียด PLC
PLC คืออะไร?Programmable Logic Controller เครื่องควบคุมเชิงตรรกที่สามารถโปรแกรมได้
PLC : Programmable Logic Controller (มีต้นกำ เนิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา) เป็นเครื่องควบคุมอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม
ที่สามารถจะโปรแกรมได้ ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทนวงจรรีเลย์ อันเนื่องมาจากความต้องการที่อยากจะได้เครื่องควบ คุมที่มีราคาถูกสามารถใช้งานได้อย่างเอนกประสงค์ และสามารถเรียนรู้การใช้งานได้ง่าย

อุปกรณ์พื้นฐานกับการทำงานของ PLC
อุปกรณ์อินพุต (Inputs: I/P)
อุปกรณ์อินพุต หรือหน้่สัมผัสอินพุต ใช้สัญลักษณ์ X ตามด้วยลำดับที่ของอินพุต โดยใช้เลขฐานแปด สำหรับรุ่น FX1N เช่น X000, X001, X002,...,X007,X010 และเลขฐานสิบหกสำหรับรุ่นอื่นๆ หน้าสัมผัสจะเป็นแบบปกติเปิด NO และแบบปกติปิดNC ซึ่งหน้าสัมผัสอินพุตจะเป็นอุปกรณ์ประเภทที่สามารถมองเห็นได้และสามารถจับต้องได้ เป็นอุปกรณ์จำพวกสวิตซ์ต่างๆ รวมไปถึงจำพวกเซนเซอร์ที่ควบคุม โดยอุปกรณ์นี้จะต่ออยู่ภายนอก PLC  เช่น

1. Proximity Switch 2. Switches 3 . Photoelectric Sensor 4.Limit Switch 5.Temperature Controller
6. Encoder 7.Digital Signal Controller
อุปกรณ์เอาต์พุต (Output: O/P)

การเขียนโปรแกรม

PLCs ต้นถึงกลางทศวรรษที่ 1980, มีโปรแกรมใช้แผงโปรแกรมที่เป็นกรรมสิทธิ์หรือมีวัตถุประสงค์พิเศษโปรแกรมขั้วซึ่งมักจะได้ทุ่มเทปุ่มฟังก์ชั่ตัวแทนองค์ประกอบตรรกะต่างๆของโปรแกรม PLC [ 2 ]โปรแกรมถูกเก็บไว้ในตลับเทปคาสเซ็ท . สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการพิมพ์และเอกสารมีค่าน้อยที่สุดเนื่องจากการขาดของความจุหน่วยความจำ PLCs มากที่เก่าแก่ที่สุดที่ใช้ไม่ระเหยหน่วยความจำแกนแม่เหล็ก .
เมื่อเร็ว ๆ นี้มีโปรแกรม PLC ที่ใช้ซอฟต์แวร์โปรแกรมประยุกต์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อไปยัง PLC ผ่านอีเธอร์เน็ต , RS-232 , RS-485หรือRS-422สาย ซอฟแวร์โปรแกรมช่วยให้การป้อนข้อมูลและการแก้ไขของตรรกะบันไดสไตล์ โดยทั่วไปซอฟต์แวร์มีฟังก์ชันสำหรับการแก้จุดบกพร่องและการแก้ไขปัญหาซอฟต์แวร์ PLC เช่นโดยเน้นส่วนของตรรกะเพื่อแสดงสถานะปัจจุบันในระหว่างการดำเนินการจำลองหรือผ่านทาง ซอฟต์แวร์ที่จะอัปโหลดและดาวน์โหลดโปรแกรม PLC, เพื่อสำรองและฟื้นฟู ในบางรุ่นของตัวควบคุมที่สามารถโปรแกรมได้โปรแกรมจะถูกโอนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไปยัง PLC ผ่านคณะกรรมการการเขียนโปรแกรมซึ่งเขียนโปรแกรมลงในชิปที่ถอดออกได้เช่นEEPROMหรือEPROM .

การทำงานของ Controller omron S3S-B10


การทำงานของ Controller omron S3S-B10

OMRON S3SB10 NEW S3S B10 100/110/200/220VAC  
รายละเอียดย่อ :
Part Number: S3S-B10
SENSOR CONTROLLER 110-120/220/240VAC ON/OFF DELAY 
รหัส : OMRS3SB10
ยี่ห้อ : OMRON
รุ่น : S3SB10
ราคาปกติ :  8,600.00     


โครงสร้างทางเทคนิคและการใช้งาน Input Unit




Sensor ในงานอุตสาหกรรม
Sensor เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้งานอุตสาหกรรมในระบบการควบคุมแบบอัตโนมัติซึ่งสามารถ แบ่งแยกตามลักษณะการใช้งานและคุณสมบัติที่ได้ คือ...
1.             Limit Switch (สวิทซ์จำกัดระยะ)

การทำงานจะอาศัยแรงกดจากภายนอกมากระทำ เช่น วางของทับที่ปุ่มกด หรือ ลูกเบี้ยวมาชนที่ปุ่มกด
2.             Photo Electric Sensors เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับตรวจจับการมี หรือ ไม่มีวัตถุที่เราต้องการตรวจจับ โดยอาศัยหลักการวัดปริมาณของความเข้มของแสงที่กระทบกับวัตถุและ สะท้อนกลับมายัง Photo Electric Sensors

3.             Proximity Sensors เป็นอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ที่ใช้สำหรับตรวจจับการมีหรือไม่มีของวัตถุโดย อาศัยหลักการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กหรือสนามไฟฟ้า แบ่งได้เป็น 2 แบบคือ
a. ชนิดสนามแม่เหล็ก (Inductive)
b. ชนิดสนามไฟฟ้า (Capacitive)
ซึ่งพอที่จะสรุปจุดเด่น จุดด้อยในการนำ Sensor แบบต่างๆ มาใช้งานได้ตามตารางข้างล่างนี้

ข้อเปรียบเทียบระหว่างลิมิตสวิตซ์กับเซ็นเซอร์ชนิดต่างๆ จุดเด่นในการใช้งาน
จุดด้อยในการใช้งาน
ลิมิตสวิตซ์
(Limit Switches)



ติดตั้งสะดวก , ง่าย
เป็นอุปกรณ์ที่มีสวิทซ์แยก(Isolated)
ไม่ต้องมีไฟเลี้ยงวงจรในการทำงาน
การทำงานเชื่อถือได้
มีความสามารถในการรับกระแสได้ สูงในการทำงาน
มีความแม่นยำและเที่ยงตรง
ราคาต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับชนิด อื่นๆ
มีอายุการใช้งานจำกัด
มีความเร็วการทำงานจำกัด
(ประมาณ 1.5 เมตร/วินาที)
หน้าคอนแทคเสื่อมและทำงานได้ ไม่เต็มประสิทธิภาพเมื่อถึงระยะเวลา ที่กำหนด
ดัชนีการป้องกัน (IP) ถูกจำกัด
ความน่าเชื่อถือต่ำเมื่อทำงานที่มี ระดับสัญญาณต่ำ
เซ็นเซอร์แบบเหนี่ยวนำ (Inductive Proximity Sensors)


อายุการใช้งานไม่ได้ขึ้นอยู่กับ จำนวนครั้งของการทำงาน
มีลำตัวที่แข็งแรงสามารถใช้งานใน โรงงานได้ดี
มีดัชนีการป้องกัน (IP)สูง
สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ อิเลคทรอนิกส์ได้ดี
ไม่มีส่วนประกอบใดๆ ที่ต้องสัมผัส กับวัตถุที่ตรวจจับ
สามารถตรวจจับวัตถุที่เคลื่อนที่ย่าน ความเร็วสูงได้
ระยะการตรวจจับจำกัด
(ประมาณ 60 mm)
ตรวจจับได้เฉพาะวัตถุที่เป็นโลหะ เท่านั้น
การคำนวณจุดการทำงาน(Switching Point) ได้ยาก หากเป้าตรวจจับไม่ได้มาตรฐาน
(เล็กกว่า)และชนิดของโลหะที่ไม่ใช่ เหล็ก
เซ็นเซอร์แบบเก็บประจุ (Capacitive Proximity Sensors)



สามารถตรวจจับวัตถุได้ทุกชนิด
สามารถตรวจจับผ่านแผ่นกั้น (Partition) ได้
มีความไวสูงต่อการเปลี่ยนแปลง รอบข้าง เช่น อุณหภูมิและความชื้น
ระยะการตรวจจับที่จำกัด
เซ็นเซอร์แบบใช้แสง
(Photo Electric Sensors)


สามารถตรวจจับในระยะไกลได้
สามารถตรวจจับวัตถุได้ทุกชนิด
สามารถตรวจจับวัตถุได้ทุกขนาด รวมถึงวัตถุที่มีลักษณะแหลมคม
มีเอาต์พุตทั้งแบบรีเลย์หรือโซลิต
สเตท
มีชนิดที่ออกแบบสำหรับตรวจจับ แถบสี (Colour Mark)
ประสิทธิภาพการทำงานลดลงเมื่อมี ฝุ่นหรือสิ่งสกปรกจับที่ด้านหน้าชุด ส่งหรือชุดรับแสง
การทำงานอาจผิดพลาดได้หากมี การใช้งานบริเวณรอบข้างที่มีแสง สว่างจ้าเกินไป


โครงสร้างทางเทคนิคและการใช้งาน Input Unit

1.PROXIMITY  SWITCH

พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ (Proximity Sensor) หรือ พร็อกซิมิตี้สวิตซ์ (Proximity Switch) คือ เซนเซอร์ชนิดหนึ่งที่สามารถทำงานโดยไม่ต้องสัมผัสกับชิ้นงานหรือวัตถุภายนอก โดยลักษณะของการทำงานอาจจะส่งหรือรับพลังงานรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ สนามแม่เหล็ก สนามไฟฟ้า แสง เสียง และ สัญญาณลม ส่วนการนำเซนเซอร์ประเภทนี้ไปใช้งานนั้น ส่วนใหญ่จะใช้กับงานตรวจจับ ตำแหน่ง ระดับ ขนาด และรูปร่าง ซึ่งโดยปกติแล้วจำนำมาใช้แทนลิมิตสวิตซ์ (Limit Switch) เนื่องด้วยสาเหตุของอายุการใช้งานและความเร็วในการตรวจจับวัตถุเป้าหมาย ทำได้ดีกว่าอุปกรณ์ประเภทสวิตซ์ซึ่งอาศัยหน้าสัมผัสทางกล
ประเภทของพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์
1.เซนเซอร์แบบเหนี่ยวนำ (Inductive Sensor) เป็นเซนเซอร์ที่ทำงานโดยอาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงค่าความเหนี่ยวนำของขดลวด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะมีผลต่อชิ้นงานหรือวัตถุที่เป็นโลหะเท่านั้น หรือเรียกกันทางภาษาเทคนิคว่า ” อินดั๊กตีฟเซนเซอร์ ”
ข้อเด่นของเซนเซอร์ชนิดนี้ คือ ทนทานและสามารถทำงานได้ในช่วงอุณหภูมิที่กว้าง (wide temperature ranges) สามารถทำงานในสภาวะที่มีการรบกวนทางแสง (Optical) และเสียง (Acoustic) ซึ่งเทียบเท่ากับชนิดเก็บประจุ
2.เซนเซอร์ชนิดเก็บประจุ (Capacitive Sensor) เซนเซอร์ประเภทนี้มีโครงสร้างทั้งภายนอกและภายในคล้ายกับแบบเหนี่ยวนำ การเปลี่ยนแปลงของความจุ ซึ่งเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของวัตถุชนิดหนึ่งเข้ามาใกล้สนามไฟฟ้าของคาปา ซิเตอร์ เซนเซอร์ชนิดนี้สามารถตรวจจับอุปกรณ์ที่ไม่ได้เป็นโลหะได้ และเป็นโลหะได้
หลักการทำงานของเซนเซอร์แบบเหนี่ยวนำ
บริเวณส่วนหัวของเซนเซอร์จะมีสนามแม่เหล็กซึ่งมีความถี่สูง โดยได้รับสัญญาณมาจากวงจรกำเนิดความถี่ ในกรณีที่มีวัตถุหรือชิ้นงานที่เป็นโลหะเข้ามาอยู่ในบริเวณที่สนามแม่เหล็ก สามารถส่งไปถึง จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่าความเหนี่ยวนำ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการหน่วงออสซิลเลท (oscillate) ลดลงไป หรือบางทีอาจถึงจุดที่หยุดการออสซิลเลท และเมื่อนำเอาวัตถุนั้นออกจากบริเวณตรวจจับ วงจรกำเนิดคลื่นความถี่ก็เริ่มต้นการออสซิลเลทใหม่อีกครั้งหนึ่ง สภาวะดังกล่าวในข้างต้นจะถูกแยกแยะได้ด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายใน หลังจากนั้นก็จะส่งผลไปยังเอาต์พุตว่าให้ทำงานหรือไม่ทำงาน โดยทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของเอาต์พุตว่าเป็นแบบใด เพื่อเป็นการลดจินตนาการในการทำความเข้าใจการทำงานของเซนเซอร์ชนิดนี้จึงขอ แสดงด้วยรูปต่อไปนี้


Sensing Distance (SN) : ระยะที่ตัวเซนเซอร์สามารถตรวจวัตถุได้ซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของวัตถุและเส้นผ่านศูนย์กลางของ Sensor ซึ่งโดยปกติแล้ว ถ้าเส้นผ่านศุนย์การของตัว Sensor ใหญ่ก็ยิ่งทำให้ระยะการตรวจจับได้ไกล



Target Material Factor : เป็นค่า Factor โดยประมาณของวัตถุแต่ละชนิด ใช้สำคูณกับค่า Sensing Distance เพื่อให้ได้ค่าระยะการตรวจจับที่แน่นอนยิ่งขึ้น เมื่อใช้ Inductive Sensor ในการตรวจจับวัตถุชนิดนั้นๆ



Hysteresis : เป็นช่วงหรือย่านที่ตัว Sensor จะให้สถานะของ Output เป็น On หรือ Off ซึ่งโดยปกติแล้วในการออกแบบเครื่องจักรต่างๆ ต้องคำนึงถึงค่านี้ด้วยเพื่อให้มั่นใจได้ว่าตัว Sensor ของเราที่ติดตั้งไปแล้วนั้นจะสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและแน่นอนตลอดเวลา





Mountable : เป็นรูปแบบในการติดตั้งตัว Sensor ซึ่งโดยปกติแล้วตัว Sensor ทั้ง Inductive และ Capacitive จะมีรูปแบบในการติดตั้่งอยู่ 2 ชนิด คือ แบบ Flush Mount และ Non Flush Mount โดยมีลักษณะในการติดตั้งที่แตกต่างกันตามรูป ถ้ามีการติดตั้งที่ผิดวิธีก็อาจจะทำให้การทำงานของตัว Sensor ผิดพลาดได้







รูปร่างหน้าตาของตัว Proximity Sensor


วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

PC Station ในระบบ Diskless


ออกแบบการใช้งาน




อุปกรณ์ 

  • เครื่องที่ใช้เป็น Host PC  OS Microsoft Windows XP  Professional SP 3
  • เครื่องที่ใช้เป็น User PC OS Microsoft Windows 2000,Microsoft Windows ME,Microsoft Windows XP SP 1,Microsoft Windows XP SP 2,Microsoft Windows XP SP 3
  • Router/Switch   Cisco SF200-48P 
  • โปรแกรม Diskless ใช้กับ OS  Microsoft Windows 

งบประมาณค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง
Host PC                            50000   ฿ 
User PC                              7000   ฿
Router/Switch                  25000   ฿

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมในชั้นเรียนการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน

1. จงบอกเหตุผลในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานอุตสาหกรรม
ในวงการอุตสาหกรรมนับได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การวางแผนการผลิต กำหนดเวลาการผลิต การออกแบบจนกระทั่งถึงการผลิตสินค้า ควบคุมระบบการผลิตและระบบคุณภาพทั้งหมด ในรายงานทางอุตสาหกรรมได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องจักร ตลอดจนโรงงานผลิตเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่นการทำลายวงจรลงบนแผ่นปริ้น ชึ่งจะช่วยในความสะดวกสบาย และความเป็นระเบียบเรียบร้อยการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบลายวงจรนั้น เป็นที่นิยมใช้กันใน กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางไปจนถึง กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่  เช่นกลุ่มโรงงานผลิตบอร์ดทดลอง หรือการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย ซึ่งมีขนาดเล็กลง กลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้จึงนิยมใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยในกระบวนการผลิตและการออกแบบลายวงจร ที่มีความระเอียดสูงๆโดยใช้โปรแกรม Protel

2. จงอธิบายระบบ CIM
Computer Integrated Manufacturing (CIM) เป็นระบบการผลิตที่ใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุมกระบวนการผลิตทั้งหมด การผสมผสานของระบบ ทำให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานแต่ละหน่วยได้ ทำให้แต่ละหน่วยรับรู้ความก้าวหน้าซึ่งกันและกัน ข้อดี คือ ระบบการผลิตจะมีความรวดเร็วและมีข้อผิดพลาดน้อย แม้ว่าข้อดีหลักของ CIM คือ ความสามารถในการสร้างกระบวนการผลิตอัตโนมัติ โดยทั่วไปแล้วระบบ CIM จะเป็นกระบวนการควบคุมแบบปิด (Closed-loop Control Processes) บนพื้นฐานของข้อมูล ณ ปัจจุบันที่ได้รับจากตัวตรวจรู้ (Sensor) 

3. จงบอกประโยชน์ของของการใช้ CIM
Computer Integrated Manufacturing (CIM) เป็นทั้งกระบวนการผลิตและชื่อของระบบอัตโนมัตที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ โดยมีหน้าที่สนับสนุนการทำงานและเป็นระบบการจัดการของระบบการผลิตที่ประกอบด้วยฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายงานวิศวกรรม ฝ่ายงานการผลิต ฝ่ายการตลาด และฝ่ายการสนับสนุนอื่นๆ ขอบข่ายหน้าที่การทำงานของ CIM มีหลากหลายอย่าง เช่น ออกแบบ วิเคราะห์ วางแผน จัดซื้อ จัดการบัญชีต้นทุน ควบคุมคงคลัง และการกระจายผลิตภัณฑ์ เหล่านี้จะถูกเชื่อมโยงโดยคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์ หรือหน่วยต่างๆ ภายในองค์กร CIM จะทำให้สามารถควบคุมกระบวนการได้โดยตรงและสามารถแสดงการทำงานปัจจุบันของทุกกระบวนการทำงาน

4. จงอธิบายการใช้ CADในงานอุตสาหกรรม
คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (COMPUTER AIDED DDSIGN)
ในกระบวนการของ
CAD นอกจากจะเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบแล้วยังรวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์ในการดัดแปลง การวิเคราะห์และหาหนทางที่ดีที่สุดสำหรับการออกแบบ โดยระบบ CAD จะต้องมีทั้งส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ โดยฮาร์ดแวร์ ของ CAD นอกจากจะประกอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงแล้ว ยังต้องมีจอกราฟิกและอุปกรณ์รับข้อมูล เช่น เมาส์ ดิจิไทเซอร์ ฯลฯ ส่วนซอฟต์แวร์ของ CAD นั้นจะเป็นโปรแกรมสำหรับสร้างกราฟิกและโปรแกรมช่วยต่าง ๆ เช่น โปรแกรมวิเคราะห์ โครงสร้าง เช่น FINITE ELEMENT ANALYSIS ซึ่งเราอาจเรียกส่วนนี้ว่า คอมพิวเตอร์ช่วยในงานวิศวกรรม (COMPUTER AIDED ENGINEERING) การติดตั้งเป็นกระบวนการในการตั้งค่าต่างเพื่อให้โปรแกรมสามารถทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์, เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่นๆ ได้ การติดตั้งโปรแกรมเริ่มจากการใส่แผ่นโปรแกรม แล้วคัดลอกทุกส่วนของโปรแกรมจากแผ่นโปรแกรมลงในฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์ ในระหว่างการติดตั้ง โปรแกรมอาจถามคุณเกี่ยวกับการติดตั้งค่า การทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ เมื่อคุณติดตั้งเรียบร้อยแล้ว คุณจึงจะสามารถใช้งานโปรแกรมได้
5. จงอธิบายการใช้ CAMในงานอุตสาหกรรม
CAM Positioner มีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางในเครื่องจักรอุตสาหกรรม โดยเฉพาะงานบรรจุภัณฑ์ หรืองานที่มีลักษณะหมุนเป็นวงรอบหรือวงกลม CAM Positioner จะประกอบด้วยเซนเซอร์ป้อนกลับและคอนโทรลเลอร์ทำหน้าที่วัดองศาและสั่งให้เอาท์พุททำงานตามตำแหน่งองศาที่ตั้งไว้ ซึ่งการใช้งานจะง่ายกว่าการใช้พีแอลซีเพราะไม่ต้องเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อน เพียงแค่ตั้งองศาการทำงานบนคอนโทรลเลอร์เท่านั้น ส่วนเซนเซอร์ป้อนกลับที่นิยมใช้งานจะมี 2 แบบด้วยกันคือ Encoder กับ Resolver อุปกรณ์ทั้งสองมีข้อดีละข้อเสียที่แตกต่างกัน ดังจะอธิบายต่อไป
Resolver กับ Encoder มีข้อแตกต่างกันหลายอย่าง อุปกรณ์ทั้ง 2 ชนิด นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรม แต่มีหลายท่านไม่ทราบหลักการทำงานของอุปกรณ์ดังกล่าวมากนัก จึงมีการเลือกใช้อย่างไม่เหมาะสม ในลำดับถัดไปเราจะกล่าวถึงหลักการทำงานและเปรียบเทียบข้อแตกต่าง เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้อุปกรณ์ทั้ง 2 ให้เหมาะสมResolver ทำงานอย่างไร ?
Resolver ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อประโยชน์ทางการทหารเป็นเวลามากกว่า 50 ปี มีการใช้งานและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันได้มีการนำ Resolver มาใช้งานกันอย่างกว้างขวางในวงการอุตสาหกรรม โดยใช้เป็นเซนเซอร์เพื่อตรวจจับตำแหน่ง นิยมใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ เป็นต้น
 โครงสร้างของ Resolver
Resolver คือ หม้อแปลงไฟฟ้าแบบโรตารี่ (Rotary Transformer) ที่ทำหน้าที่ส่งผ่านพลังงานในรูปแบบของ SIN ไปยังเพลาหมุน (Rotor) Resolver จะมีขดลวด Primary เรียกว่าขดลวดอ้างอิง (Reference Winding) และขดลวด Secondary ซึ่งมี 2 ชุดเรียกว่าขดลวด SIN และขดลวด COS (ดังแสดงในรูป 2) ขดลวดอ้างอิงจะอยู่บน Rotor ของ Resolver ส่วนขดลวด SIN และขดลวด COS จะอยู่ที่ Stator โดยที่ขดลวด SIN และ COS จะถูกว่างในมุมที่ต่างกันทางกล 90 องศา
ในกรณีของ Resolver ที่ไม่มีแปลงถ่าน พลังงานไฟฟ้าจะถูกจ่ายเข้าที่ขดลวดอ้างอิง (Rotor) ผ่านทางหม้อแปลงไฟฟ้าโรตารี่ (Rotary Transformer) ทำให้ไม่ต้องใช้แปลงถ่านและ Slip ring
ปกติแล้วขดลวดอ้างอิงจะถูกกระตุ้นจากแรงดันไฟฟ้า
AC เรียกว่าแรงดันอ้างอิง (Vr) ดังแสดงในรูปที่ 2 แรงดันเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นในขดลวด SIN และ COS จะเท่ากับค่าของแรงดันอ้างอิงคูณกับค่า SIN (Vs = Vr * SIN ) หรือ COS (Vc = Vr * COS ) ของมุมที่เพลา เมื่อเปรียบเทียบกับจุดศูนย์ ดังนั้น Resolver จะทำให้ค่าแรงดันสองค่านี้ออกมา ซึ่งเป็นอัตราส่วนของค่าตำแหน่งของเพลา (SIN /COS = TAN , ซึ่ง = มุมของเพลา) เนื่องจากอัตราแรงดัน SIN และ COS คือ ค่าของมุมเพลาและเป็นค่าสมบูรณ์ ดังนั้นค่าที่ได้จะไม่มีรับผลกระทบจากอุณหภูมิแวดล้อมหรืออายุการใช้งาน ซึ่งเป็นข้อดีของ Resolver

6. จงอธิบายการใช้ CAD/CAMในงานอุตสาหกรรม
            คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (COMPUTER AIDED DDSIGN)
ในกระบวนการของ
CAD นอกจากจะเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบแล้วยังรวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์ในการดัดแปลง การวิเคราะห์และหาหนทางที่ดีที่สุดสำหรับการออกแบบ โดยระบบ CAD จะต้องมีทั้งส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ โดยฮาร์ดแวร์ ของ CAD นอกจากจะประกอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงแล้ว ยังต้องมีจอกราฟิกและอุปกรณ์รับข้อมูล เช่น เมาส์ ดิจิไทเซอร์ ฯลฯ ส่วนซอฟต์แวร์ของ CAD นั้นจะเป็นโปรแกรมสำหรับสร้างกราฟิกและโปรแกรมช่วยต่าง ๆ เช่น โปรแกรมวิเคราะห์ โครงสร้าง เช่น FINITE ELEMENT ANALYSIS ซึ่งเราอาจเรียกส่วนนี้ว่า คอมพิวเตอร์ช่วยในงานวิศวกรรม (COMPUTER AIDED ENGINEERING) การติดตั้งเป็นกระบวนการในการตั้งค่าต่างเพื่อให้โปรแกรมสามารถทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์, เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่นๆ ได้ การติดตั้งโปรแกรมเริ่มจากการใส่แผ่นโปรแกรม แล้วคัดลอกทุกส่วนของโปรแกรมจากแผ่นโปรแกรมลงในฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์ ในระหว่างการติดตั้ง โปรแกรมอาจถามคุณเกี่ยวกับการติดตั้งค่า การทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ เมื่อคุณติดตั้งเรียบร้อยแล้ว คุณจึงจะสามารถใช้งานโปรแกรมได้
CAM Positioner มีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางในเครื่องจักรอุตสาหกรรม โดยเฉพาะงานบรรจุภัณฑ์ หรืองานที่มีลักษณะหมุนเป็นวงรอบหรือวงกลม CAM Positioner จะประกอบด้วยเซนเซอร์ป้อนกลับและคอนโทรลเลอร์ทำหน้าที่วัดองศาและสั่งให้เอาท์พุททำงานตามตำแหน่งองศาที่ตั้งไว้ ซึ่งการใช้งานจะง่ายกว่าการใช้พีแอลซีเพราะไม่ต้องเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อน เพียงแค่ตั้งองศาการทำงานบนคอนโทรลเลอร์เท่านั้น ส่วนเซนเซอร์ป้อนกลับที่นิยมใช้งานจะมี 2 แบบด้วยกันคือ Encoder กับ Resolver อุปกรณ์ทั้งสองมีข้อดีละข้อเสียที่แตกต่างกัน

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


การติดตั้งปั๊มน้ำและแท้งค์เก็บน้ำ

การติดตั้งปั้มน้ำและแท้งเก็บน้ำ




อุปกรณ์ที่่ใช้ในการติดตั้ง

รายการอุปกรณ์                                                        ราคา(บาท)
 1.แท้งน้ำ ความจุ 800 ลิตร 1แท้ง                              3600 บาท     
 2.วาล์วเปิด-ปิดน้ำ 2-3 ตัว                                             60  บาท   
 3.ท่อน้ำขนาด2-4นิ้วยาว30เมตร                               450  บาท   
 4.ปั้มน้ำขนาด300วัตต์                                               2500  บาท
 5.เบรกเกอร์                                                                         75 บาท   

                                                  รวมเป็นเงินทั้งสิ้น     6680  บาท
วิธีการติดตั้ง
             
               1. ควรตั้งระยะดูดไม่ให้เกิน เมตร  เพื่อให้การสูบน้ำเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ ระยะท่อดูดน้ำจากปั๊มน้ำถึงถังเก็บน้ำที่อยู่บนพื้นดินไม่ควรเกิน เมตร หรือสำหรับถังเก็บน้ำที่อยู่ใต้ดิน ควรให้ปลายท่อดูดน้ำจากก้นถังถึงระดับกึ่งกลางของปั๊มน้ำไม่เกิน เมตรเช่นกัน
              2. ควรติดตั้งปั๊มน้ำใกล้บ่อน้ำ  ควรให้ระยะความลึกของท่อน้ำจากกึ่งกลางปั๊มน้ำถึงระดับใต้ผิวน้ำในบ่อไม่เกิน เมตรเช่นกัน เพื่อความสะดวกต่อการซ่อมแซมและการระบายน้ำ
              3. ควรยึดเครื่องกับแท่นหรือพื้นที่แข็งแรง เช่น คอนกรีต หรือทำกรอบไม้เพื่อยึดขาปั๊มเพื่อเข้ากับพื้นให้  มั่นคงและได้ระดับ ไม่เช่นนั้นจะมีเสียงดังขณะปั๊มทำงาน
              4. การต่อท่อ  การต่อท่อที่ดีจะต้องมีข้อต่อให้น้อยที่สุด เพื่อลดการสูญเสียอัตราการไหลของน้ำเนื่องจากความเสียดทานภายในท่อ  ท่อทางด้านสูบควรมีความลาดเอียงไม่เกิน เซนติเมตรทุกความยาวท่อเมตร เพื่อให้การสูบน้ำของปั๊มน้ำมีประสิทธิภาพสูงสุด  ต้องระวังอย่าให้เกิดรอยรั่วตามข้อต่อไม่ว่าจะเป็นท่อทางด้านสูบหรือด้านส่ง  เพราะจะมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของปั๊มน้ำ คือถ้าท่อทางด้านสูบก่อนเข้าปั๊มน้ำมีการรั่ว จะทำให้มีอากาศเกิดขึ้นในท่อ และทำให้ไม่สามารถสูบน้ำให้ไหลต่อเนื่องและเต็มท่อได้ ส่งผลให้น้ำทางด้านส่งหรือด้านที่ต่อออกจากปั๊มน้ำไปถึงก๊อกน้ำมีอัตราการไหลน้อยกว่าปรกติ และหากยังคงมีอากาศเข้าในระบบมากขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ปั๊มน้ำไหม้ได้  กรณีที่มีการรั่วท่อด้านส่ง   หรือท่อที่ต่อไปก๊อกน้ำ จะมีผลให้ปั๊มน้ำทำงานบ่อยครั้ง  การรั่วเพียงเล็กน้อย เป็นเพียงหยดน้ำเล็ก ๆ ก็มีผลทำให้ความดันในเส้นท่อลดลง และเมื่อลดลงถึงระดับที่ตั้งไว้ สวิตซ์ความดันจะสั่งงานให้ปั๊มน้ำทำงาน  
                    ดังนั้นเมื่อต่อท่อของระบบเสร็จแล้วควรมีการทดสอบการรั่วของท่อ โดยอัดน้ำเข้าในเส้นท่อจากนั้นปล่อยทิ้งไว้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง หากความดันในปั๊มน้ำไม่มีการลดลงก็แสดงว่าระบบท่อไม่มีการรั่ว
                 สำหรับการสูบน้ำจากบ่อ การต่อท่อด้านสูบของปั๊มน้ำที่จะต้องจุ่มปลายท่อลงในบ่อน้ำควรใส่ฟุตวาล์ว (Foot Valve)และตัวกรองน้ำไว้ที่ปลายท่อสูบด้วย เพื่อกรองเศษใบไม้ เศษหิน เศษดิน ไม่ให้เข้าไปอุดตันในปั๊มน้ำ และฟุตวาล์วยังป้องกันน้ำในระบบท่อไหลย้อนกลับไปในบ่อน้ำขณะที่ปั๊มหยุดทำงาน  และฟุตวาล์วควรสูงจากพื้นก้นบ่ออย่างน้อย 30 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้ผงหรือตะกอนถูกสูบขึ้นมา
                 
                   5. การติดตั้งถังเก็บน้ำ  สำหรับบ้านพักอาศัยทั่ว ๆ ไป ซึ่งมีความสูงไม่เกิน ชั้น ควรติดตั้งถังเก็บน้ำไม่ว่าจะเป็นถังเก็บน้ำบนดินหรือใต้ดิน ให้ต่อจากมิเตอร์วัดน้ำของการประปา เพื่อสำรองน้ำจากท่อประปาไว้ในถังเก็บน้ำให้มากพอ แล้วจึงต่อท่อน้ำส่งเข้าตัวปั๊มน้ำ เมื่อเราใช้น้ำตามจุดต่าง ๆ พร้อมกันหลายจุด แรงดันในท่อน้ำจะลดลง ปั๊มน้ำก็จะเริ่มทำงานเกิดแรงดันให้น้ำไหลได้มากขึ้น   แต่ถ้าเป็นอาคารสูงหลาย ๆ ชั้น การติดตั้งจะเหมือนแบบตามบ้านอาศัย แต่จะเพิ่มถังเก็บน้ำอยู่บนชั้นสูงสุดของอาคาร แล้วปั๊มน้ำจากระดับพื้นดินสู่ถังเก็บน้ำชั้นบน เพื่อสำรองไว้ใช้ตามจุดใช้น้ำตามแต่ละชั้นของอาคาร

  การใช้งานปั๊มน้ำ       เมื่อติดตั้งปั๊มน้ำและระบบท่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ก่อนใช้ปั๊มน้ำควรปฏิบัติดังนี้
       1. ปิดวาล์วของท่อด้านส่งน้ำ  ปิดอุปกรณ์ใช้น้ำและปิดก๊อกน้ำให้สนิท
       2. ถอดจุกเติมน้ำของตัวปั๊มน้ำ
        3. เติมน้ำให้เต็มจนมีน้ำล้น
        4. ปิดจุกให้แน่น
        5. ต่อระบบไฟฟ้า  ให้ปั๊มทำงาน
        6. เมื่อปั๊มน้ำทำงานแล้ว  ให้เปิดวาล์วของท่อด้านส่งน้ำ หรืออุปกรณ์ใช้น้ำทีละน้อย  แต่ถ้าปั๊มน้ำทำงานแล้วมีน้ำออกน้อยหรือน้ำไม่ไหล  อาจเป็นเพราะว่าครั้งแรกเติมน้ำน้อยเกินไป ให้เติมน้ำใหม่อีกครั้ง     
   
ข้อแนะนำในการติดตั้ง
 1. บ้านที่เป็นทาวน์เฮ้าส์ที่ไม่ได้เดินท่อ สำหรับการตั้งแท้งค์หลังบ้าน จำเป็นต้องตั้งแท้งค์
ที่หน้าบ้าน ซึ่งควรตั้งฝั่งเดียวกับมิเตอร์น้ำหน้าบ้าน เพราะจะเดินท่อจากมิเตอร์น้ำเข้าแท้งค์
ได้สะดวกไม่เกะกะ
2. ทาวน์เฮ้าส์ที่เดินท่อสำหรับการตั้งแท้งค์หลังบ้านไว้แล้ว ยังต้องพิจารณาถึงการขนย้าย แท้งค์เข้าติดตั้งได้หรือไม่ ซึ่งต้องยกข้ามกำแพงด้านหลังบ้าน หากไม่สามารถเข้าได้ ต้อง
เลือกใช้แท้งค์ขนาดเล็ก ซึ่งยกเข้าทางประตูบ้าน โดยทั่วไปแท้งค์ขนาด 70 ซม.จะเข้าประตู
ได้ บางบ้านอาจจะใหญ่กว่านี้ขึ้นกับขนาดประตู
3. กรณีทาวน์เฮ้าส์หลังริมบ้านแฝด,บ้านเดี่ยว ที่สามารถเดินท่อน้ำจากมิเตอร์ไปยังด้าน
หลังได้ ควรตั้งแท้งค์ไว้หลังบ้านฝั่งเดียวกับมิเตอร์ แท้งค์จะได้ไม่เกะกะหน้าบ้านและไม่ต้อง
เดินท่อไกล
 4. กรณีบ้านที่ท่อน้ำเข้าบ้านอยู่ใต้พื้นคอนกรีตหน้าบ้าน อาจจะตั้งแท้งค์บริเวณหน้าบ้าน
(หากไม่เกะกะเกินไป) จะทำให้ไม่ต้องเดินท่อไกล ถ้าตั้งแท้งค์หลังบ้านต้องเดินท่อไปเข้า
แท้งค์และเดินท่อกลับมาหน้าบ้าน ซึ่งจะสิ้นเปลืองค่าท่อและไม่สวยงาม
5. จุดตั้งแท้งค์ควรมีพื้นที่ตั้งปั๊มน้ำ ระยะห่างไม่เกิน เมตร และปั๊มควรอยู่ในบริเวณที่กัน
แดด กันฝน ถ้าตั้งปั๊มไกลจะทำให้ปั๊มทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ สิ้นเปลืองท่อ และไม่สวย

งาม

 6. ควรตั้งแท้งค์น้ำห่างจากกำแพงรั้วหรือผนังบ้าน อย่างน้อย เซนติเมตร 
 7. หลีกเลี่ยงการตั้งแท้งค์ใต้หลังคาที่มีน้ำหยดลงแท้งค์
 8. หลีกเลี่ยงการตั้งแท้งค์บนพื้นที่ลาดเอียง
 9. บริเวณที่ตั้งแท้งค์ควรมีพื้นที่ด้านบนเหนือแท้งค์น้ำ เพียงพอต่อการเปิดฝา ติดตั้ง
อุปกรณ์ และการดูแลรักษา 

10. ควรตั้งแท้งค์บนพื้นคอนกรีต